วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปัญหาด้านการศึกษาของไทย


   ที่มาและจุดเริ่มต้นของปัญหา


  การศึกษาของเด็กไทยที่ผ่านมา มีความพยายามในการยกระดับมาตรฐานทางการศึกษาของเด็กและเยาวชนเพื่อให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เนื่องจากในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กไทยในแต่ละปี ผลที่ออกมามักอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน  ผลสำรวจสุขภาพอนามัยของเด็กโดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2551-2552 โดยสำรวจเด็ก 2 กลุ่ม คือกลุ่มปฐมวัยอายุ 1-5 ปี จำนวน 3,029 คนและกลุ่มเด็กอายุ 6-14 ปี จำนวน 5,999 คน จาก 20 จังหวัดผลการสำรวจด้านเชาว์ปัญญา พบว่า ในช่วง 14 ปีมานี้ ค่าเฉลี่ยระดับเชาว์ปัญญาหรือไอคิวของเด็กไทยไม่ได้เพิ่มขึ้นเหมือนประเทศอื่น โดยเด็กไทยอายุ 6-14 ปี มีระดับเชาว์ปัญญาเท่ากับ 91.4 ซึ่งค่าเฉลี่ยระดับไอคิวปัญญาต่ำลงเมื่อเด็กอายุมากขึ้น มีเด็กถึงร้อยละ 50 ที่มีระดับเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ปกติคือ 80 มีเพียงร้อยละ 11 ที่มีค่าเฉลี่ยระดับเชาว์ปัญญาสูงกว่าปกติแม้ประเทศไทยจะมีการทุ่มงบประมาณเพื่อพัฒนาการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นโครงการเรียนฟรี 15 ปี รวมถึงโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตรครู 5 ปี) การประเมินวิทยฐานะ ซึ่งทำให้ครูที่มีผลงานดีได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น แต่เหตุใดปัญหาการศึกษาของเด็กไทยยังมีการประเมินว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งปัญหาด้านการเรียนของเด็กไทยในปัจจุบันอาจวิเคราะห์ได้ว่ามาจากหลายประการ


สภาพปัญหาในปัจจุบัน
     ปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้เด็กมีผลการเรียนอ่อนลง มาจากความสนใจของตัวเด็กเองที่พบว่าเด็กให้ความสนใจเรื่องของเกม และสื่อเพื่อความบันเทิงมากขึ้น ทำให้ความสนใจในการศึกษาหาความรู้ลดน้อยลง ทั้งนี้ เนื่องมาจากสภาพสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นครอบครัวเดี่ยว พ่อแม่ทุ่มเวลาหาเงิน ทำงาน และใช้เงิน ใช้เทคโนโลยีเลี้ยงดูเด็ก เช่น ซื้อทีวี ซื้อเครื่องเล่นเกมส์ คอมพิวเตอร์ให้ลูกเล่นอยู่บ้าน เพราะคิดว่าดีกว่า ปลอดภัยกว่าที่จะให้ลูกไปเล่นนอกบ้าน ซึ่งจะทำให้เกิดผลเสียต่อพัฒนาการ ปัญหาการสอบแอดมิชชั่น เนื่องจากระบบการสอบแอดมิชชั่น เน้นคะแนนสอบเพียงบางวิชาและไม่เน้นความรู้ในเชิงลึกเหมือนการสอบในสมัยเก่าปัญหาจากครูผู้สอน ทั้งในเรื่องเงินเดือน และการฝึกฝนเรียนรู้ของครูให้เท่าทันศาสตร์ต่างๆ เพื่อจะไปสอนให้ทันกับเทคโนโลยีและความรู้ใหม่ๆ โดยที่ผ่านมาสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) เปิดเผยผลการประเมินคุณภาพภายนอก ทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษา ซึ่งพบว่ามีสถาบันการศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองผลคิดเป็นร้อยละ 19.59 โดยในเบื้องต้นพบว่าสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองมีปัญหาสำคัญมาจากคุณภาพครูเป็นปัจจัยสำคัญ

ผลกระทบของปัญหา(ขอบเขต, แนวโน้มและความรุนแรง)
       ระบบการศึกษาเป็นระบบแรกที่สร้างเทคโนโลยีในด้านคอมพิวเตอร์ขึ้น และเป็นสิ่งชักนำให้ส่งผลกระทบไปในงานด้านอื่นๆ อีกจำนวนมาก ในปัจจุบันการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยได้ใช้คอมพิวเตอร์ประกอบการเรียนการสอนเนื่องจากการศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ จำเป็นต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ในระยะยาว การใช้คอมพิวเตอร์ประกอบการเรียนการสอนมีแนวโน้มที่จะขยายตัวไปถึงระดับมัธยมและประถมด้วย การใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษานี้จะช่วยให้การเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างกว้างขวางรวดเร็ว ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจในเรื่องราวที่ศึกษาได้ดีขึ้น และยังช่วยให้ผู้สอนสามารถใช้เวลาในการวางแผนและพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าในการศึกษาได้มากยิ่งขึ้นนอกจากนี้ ผู้สอนยังอาจใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการสอนที่จะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนให้เหมาะสมกับสภาวะของผู้เรียนได้อีกด้วยนอกจากนี้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะมีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากราคาเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกลง และมีผู้สร้างบทเรียนสำหรับใช้สอนโดยคอมพิวเตอร์มากขึ้น ในระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ ผู้เรียนจะเรียนโดยใช้แป้นตัวอักษรและจอโทรทัศน์ที่เชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ซึ่งได้มีผู้เตรียมบทเรียนต่างๆ ไว้พร้อมแล้ว คอมพิวเตอร์จะแสดงภาพและข้อความบนจอโทรทัศน์ ข้อความนั้นอาจจะเป็นคำแนะนำเพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติ คำอธิบายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจหรือเป็นคำถามเพื่อให้ผู้เรียนตอบ เครื่องคอมพิวเตอร์จะบันทึกผลการเรียนของผู้เรียนว่าได้เข้าใจในเรื่องต่างๆ ดีขึ้นประการใดบ้างผู้สอนสามารถจะติดตามผลการเรียนได้สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้การเรียนการสอนดีขึ้นครูผู้สอนจำเป็นต้องหาทางปรับปรุงบทเรียนที่ใช้สอนของตนอยู่เสมอผู้เรียนจะต้องอ่านบทเรียนจากจอภาพแทนการอ่านจากหน้ากระดาษ นอกจากนี้ ตำราหรือบทเรียนจะเก็บในรูปของจานแม่เหล็กหรือแถบวีดีทัศน์แทนหนังสือ ผู้เรียนสามารถหาอ่านได้ง่าย สมมุติว่าเราต้องการรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น เรื่องต้นไม้ ถ้าเรื่องนี้มีเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์แล้ว คอมพิวเตอร์จะตรวจดูว่ามีเรื่องนี้ ณ ที่ใด และจะแสดงบนจอภาพให้เห็นได้ทันที ผู้เรียนทุ่นเวลาในการไปค้นหาได้มาก ผลกระทบเหล่านี้จะมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป

ผู้รับผลกระทบ(ภาคธุรกิจใด)

   ผลกระทบที่สำคัญทางด้านการศึกษาคือ การกลับมาอบรมและศึกษาใหม่ เนื่องจากผู้ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วและกำลังทำงานอยู่ ต้องปรับปรุงตนให้เข้ากับระบบงานที่กำลังจะเริ่มใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ บุคลากรที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องกลับเข้าอบรมและศึกษาใหม่ ถ้าการสอนเทคโนโลยีลึกซึ้งเกินไป ผู้เข้ารับการอบรมจะท้อแท้และเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน ไม่สามารถรับวิทยาการใหม่ได้ ผลก็คือ ประสิทธิภาพในการทำงานด้อยลง และอาจจะก่อปัญหาถึงระดับสูงได้โดยง่าย สิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบกลับมายังวิธีการศึกษาว่าจะต้องหาทางพัฒนาวิธีการให้เข้าใจง่าย และเป็นที่ยอมรับได้ตั้งแต่แรกส่วนการเรียนการสอนโดยทั่วไป ยังมีลักษณะเหมือนเดิม คือ มีห้องเรียน มีครูสอน มีอุปกรณ์การสอนเช่นเดิม เช่น กระดานดำ เครื่องฉายสไลด์ สิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนคือการวางแผนบริหารระบบงานทางด้านการศึกษา ให้สะดวกต่อการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้


ข้อเสนอแนะในการลดความรุนแรงของปัญหา

1. กำหนด กลยุทธ์/นโยบาย/พรบ.การศึกษา และเป้าหมาย ที่ชัดเจน แต่มีความยืดหยุ่นในตัวเอง
2. จัดตั้งทีมหรือคณะทางาน ที่มาจากทุกภาคส่วน ร่วมในการวิเคราะห์สภาพปัญหา รูปแบบการศึกษาที่ควรจะเป็น กำหนดแนวทางการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน โดยไม่ต้องขึ้นตรงกับส่วนใดๆ
3. ให้การสนับสนุนสถาบันการศึกษาตามความต้องการ ไม่จัดสรรในรูปของงบประมาณ
4. บูรณาการการควบคุมคุณภาพการศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการปฏิบัติงาน (เป็นการทำงานที่ recheck ตัวเอง) ผู้ปฏิบัติจะไม่รู้สึกอึดอัดเหมือนโดนาประเมินตลอดเวลา
5. ยกเลิกการผู้ติดของผลการประเมินกับงบประมาณ (เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง)
6.ปรับเกณฑ์การขอเลื่อนวิทยฐาน โดยพิจารณาผลการดาเนินงานในชั้นเรียนและประสิทธิผลของนักเรียน
7. จัดสรรงบประมาณตามความจาเป็นและความเร่งด่วน
8. เก็บงบประมาณไว้ใช้สาหรับโรงเรียนที่มีความต้องการ    
9.ยกเลิกระเบียบการจัดสรรงบประมาณตามจานวนนักศึกษา โดยพิจารณาจากความจาเป็นและความเหมาะสม (เพราะนอกจากจะทาให้เกิดช่องว่างแล้ว นักเรียนไม่มีความเกรงกลัวว่าตัวเองจะสอบตกเพราะยังไงอาจารย์ก็ให้สอบแก้จนผ่าน ทำให้การใส่ใจในการเรียนมีเปอร์เซนต์น้อยลง)


ที่มา




สมาชิกกลุ่ม AD

นางสาว พิชญาดา ยานะ       551805038

นางสาว บุษกร สุนันต๊ะ        551805037

นางสาว สุกานดา ใจดี          551805007

นางสาว วิไลลักษณ์ ยาเขต   551805008






วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การค้าชายแดนตามรอยตะเข็บ


ที่มาและจุดเริ่มต้นของปัญหา
      การค้าชายแดนเกิดขึ้นมาพร้อมๆ การเกิดชุมชนของมนุษย์บนโลกใบนี้ ไม่สามารถจะสืบค้นหาหลักฐานมาชี้ชัดได้ว่าเกิดขึ้นมาแต่เมื่อใด แต่สามารถอธิบายได้ว่า นับแต่เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นชุมชนและสามารถสร้างผลผลิตได้หลากหลายแล้วนำผลผลิตนั้นๆ มาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อสนองความต้องการของตนในการดำรงชีวิตเป็นเบื้องต้น ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีการใช้เงินตรามากำหนดราคาสินค้าเพื่อคำนวณราคาผลผลิตเพื่อซื้อขายกันเหมือนเช่นทุกวันนี้
     กาลต่อมามนุษย์เกิดการเรียนรู้จนเกิดการพัฒนาด้านต่างๆ อย่างกว้างขวางจนสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น ความต้องการในผลผลิตก็เพิ่มมากขึ้นด้วย นอกจากนั้นอัตราการเพิ่มของประชากรโลกก็มีมากขึ้น เมื่อประชากรของชุมชนมีปริมาณเพิ่มขึ้นย่อมมีปัญหาของการอยู่ร่วมกัน ดังนั้นจึงเกิดผู้นำชุมชนที่ได้รับการยอมรับจากประชากรของชุมชนนั้น ๆ ให้มีอำนาจในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาของชุมชนให้ประชากรได้อยู่อย่างมีความสุขร่วมกันและเริ่มขยายบทบาทสู่กิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย การปกครองชุมชนก็เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น รวมถึงการกำหนดค่าเงินตราของท้องถิ่นตน เพื่อการซื้อขายแลกเลี่ยนสินค้า แทนการนำผลผลิตต่อผลผลิตมาแลกกันแบบเดิม และนำไปสู่การกำหนดพื้นที่ด้วยการกำหนดเส้นเขตแดนซึ่งกลายมาเป็นประเทศตราบเท่าทุกวันนี้

    การกำหนดเส้นเขตแดนเพื่อแสดงอาณาบริเวณของเขตปกครองดังกล่าว ได้แบ่งแยกชุมชนที่เคยอยู่ร่วมกันออกไปเป็นชุมชนของประเทศที่จัดตั้งขึ้นใหม่ที่มีขนบธรรมเนียม ประเพณีปฏิบัติ ตลอดจนระเบียบ กฎหมายที่แตกต่างกัน แต่การไปมาหาสู่กันแล้วนำผลผลิตที่ตนผลิตได้มาแลกเปลี่ยนกันเพื่อการดำรงชีพ ก็ยังคงดำเนินต่อไปไม่มีการหยุดหย่อน แม้ว่าชุมชนที่อาศัยอยู่ได้ถูกแบ่งออกไปเป็นคนละประเทศแล้วก็ตาม และด้วยเหตุนี้เองที่เป็นที่มาของการค้าชายแดน
การค้าชายแดนของไทยนั้นเป็นตลาดการค้าที่สำคัญต่อประชาชนที่อยู่ตามแนวชายแดนของประเทศรวมถึงประชาชนในประเทศเพื่อนบ้าน แม้ว่าชายแดนในแต่ละจังหวัดที่ติดต่อกับประเทศอื่นนั้นมีจำนวนมาก แต่ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถข้ามผ่านแดนเพื่อค้าขายกันได้อย่างสะดวกสบาย ด้วยปัจจัยต่างๆ นั้นอาจไม่เอื้ออำนวยให้เกิดการค้าอย่างเต็มรูปแบบ เหมือนอย่างในปัจจุบัน และการจัดการกับตลาดการค้าส่วนนี้ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่ได้รับการเอาใจใส่เท่ากับการค้าขายเพื่อส่งออกไปยังประเทศอื่นที่อยู่ไกลกว่า ในส่วนของจังหวัดที่ติดชายแดนขึ้นไปทางด้านตอนบนของประเทศมีอุปสรรคในเรื่องการคมนาคมที่ลำบากเนื่องจากเส้นทางที่เลียบไปตามภูเขานั้นยากต่อการเข้าไปทำการค้า เช่น จุดผ่านแดนที่ด่านห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน มีการค้าขายของประชาชนจาก สปป.ลาว และคนไทยเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถเปิดการค้าอย่างเต็มที่เหมือนกับด่านที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย เพราะเป็นจุดที่อยู่ในมุมอับหรือไม่ได้รับการพัฒนาทั้งๆ ที่จากด่านห้วยโก๋นนั้นสามารถเดินทางด้วยรถยนต์ไปถึงหลวงพระบางได้ง่ายมากและยังเดินทางต่อไปยังคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ด้วยเช่นกัน แต่สิ่งที่เป็นอุปสรรคมีอยู่อีกด้านคือใน สปป.ลาว ไม่มีสะพานข้ามแม่น้ำโขงทำให้ต้องใช้แพบรรทุกรถเพื่อข้ามฝั่ง สิ่งที่ภาครัฐควรจัดการให้ดีขึ้นคือระบบการคมนาคมตามแนวชายแดน และวิธีการจัดการการค้าตามแนวชายแดน ภาครัฐควรศึกษาการทำงานของรัฐบาลจีนที่ตั้งศูนย์การพาณิชย์ในเมืองฉงชิ่ง เพื่อเป็นแหล่งให้ผู้ประกอบการนำสินค้าในจีนและภูมิภาคอาเซียน มาแลกเปลี่ยนซื้อขายกัน วิธีการที่รัฐควรทำและมีความเป็นไปได้คือ จัดตั้งศุนย์รวบรวมสินค้าชายแดนตามจังหวัดที่มีแนวชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน จุดประสงค์ของการตั้งศุนย์นี้เพื่อให้ภาครัฐสามารถบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จได้ในสถานที่เดียว ทั้งการดำเนินการทางศุลกากร การตรวจหาเชื้อโรค หรือออกเอกสารต่างๆ และ สร้างศูนย์แสดงสินค้าเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและชอปปิ้งจะทำให้ภาพลักษณ์การค้าชายแดนดีขึ้น อีกทั้งช่วยให้การขนส่งและกระจายสินค้าเข้าไปยังส่วนต่างๆ ของประเทศและกระจายสินค้าออกต่างประเทศทั้งที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านและประเทศที่สามเป็นไปได้อย่างสะดวกกว่าเดิม

การค้าชายแดนคือ
    การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าของประเทศทีมีพรมแดนติดกันเพื่อใช้ในการบริโภคหรืออุปโภคกันในประเทศของตนเอง โดยที่สินค้านั้นไม่ได้มีการขนส่งต่อไปยังประเทศที่สาม ซึ่งในการที่จะส่งออกหรือนำสินค้าเข้าแต่ละครั้งผู้ที่จะส่งออกหรือนำเข้าจะต้องมีการปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ครบถ้วน ไม่ว่าสินค้านั้นจะต้องเสียภาษีอากรในการส่งออกหรือ นำ เข้าหรือไม่ก็ตาม

การค้าผ่านแดนคือ
     การที่ประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกันยินยอมให้มีการขนส่งสินค้าผ่านอาณาเขตของตนเพื่อส่งออกต่อไป ประเทศที่สาม โดยไม่มีการเรียกเก็บอากรสำหรับสินค้าที่นำผ่านแดนเข้าในอาณาเขตของตนแต่อย่างใดเพราะว่า โดยปกติแล้ว ประเทศทั้งสองจะมีข้อตกลงเกี่ยวกับการดำเนินการดังกล่าว เพื่อประโยชน์ซึ่งกันและกันตามความ สัมพันธ์ของแต่ละประเทศ ซึ่งการได้รับสิทธิผ่านดินแดนดังกล่าว จะต้องปฏิบัติตามระเบียบและเงื่อนไขข้อกำหนดของประเทศที่ยินยอมให้มีการนำสินค้าผ่านแดนเพื่อ ส่งออกต่อไป ภายใต้กรอบขอบเขตอธิปไตยของประเทศ นั้นๆ
สภาพปัญหาในปัจจุบัน
รูปแบบการค้าชายแดนและข้ามแดน
1. นำติดตัวไปบริโภค (Consumer Trade) เป็นการซื้อขายกันระหว่างประชาชนในบริเวณแนวชายแดนของทั้งสองประเทศ ส่วนมากจะเป็นสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค ซึ่งจะดำเนินการซื้อขายกันทุกวัน และไม่สามารถเก็บเป็นสถิติข้อมูลปริมาณการค้าได้
2. การค้าแบบเงินสด (Cash) เป็นการซื้อขายกันในบริเวณชายแดนที่ใช้เงินสด และมีการสำแดง และเสียภาษี ณ ด่านศุลกากรที่ควบคุมพื้นที่นั้น ๆ ผู้ซื้อจะเป็นผู้สำแดงตามระเบียบศุลกากร และมีการเก็บสถิติข้อมูลทางการค้า
3. การค้าแบบขายฝาก (Sale on Consignment License) เป็นการค้าแบบการให้สินเชื่อซึ่งกันและกัน การค้ารูปแบบนี้ต้องอาศัยความเชื่อใจกัน ซึ่งพ่อค้าชายแดนมีความสามารถในการติดต่อกับพ่อค้าในประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นผู้ที่ต้องการจะไปลงทุนทำการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านจะต้องติดต่อกับพ่อค้าชายแดนเพราะเขาจะรู้ข้อมูลต่างๆ เป็นอย่างดีในการค้า และสามารถให้สินเชื่อแก่กันได้
4. การค้าแบบต่างตอบแทน (Balance Trade)
4.1 Import License คือ กรณีที่พ่อค้าในประเทศ ต้องการซื้อสินค้า และนำสินค้าของประเทศเพื่อนบ้านเข้ามา ก็จะต้องส่งสินค้าของในประเทศออกไปก่อน จากนั้นเมื่อมีการนำสินค้าเข้าและสินค้าออกในมูลค่าที่เท่ากันแล้ว ก็จะได้ License เมื่อพ่อค้าที่ทำการค้าได้ License แล้ว ก็จะนำ License ที่ได้ไปสั่งสินค้านำเข้าได้ในมูลค่าที่เท่ากันกับที่ส่งสินค้าออก ที่ทุกประเทศทำการค้าในรูปแบบนี้เพื่อความเสมอภาคทางการค้า และรักษาเงินตรา และเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศของตน ประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่นิยมใช้วิธีการค้ารูปแบบนี้ คือ สหภาพเมียนม่าร์ นิยมใช้มากกว่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศกัมพูชา
4.2 Border Trade Agreement เป็นรูปแบบการค้าที่ประเทศเพื่อนบ้านเสนอโดยกระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมประชุม JTC (Joint Trade Committee) และกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมประชุม JCC ทั้งสองหน่วยงานของไทย จะประชุมร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านทุกปี เพื่อเจรจาเรื่องการค้าที่ค้าขายผ่านบริเวณชายแดนให้เป็นการค้าที่ถูกต้อง และมีรูปแบบที่ตรงกัน แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากสหภาพเมียนม่าร์ยังไม่ยอมแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับการค้ารูปแบบนี้
5. การค้าแบบหักบัญชี (Account Trade หรือ Counter Trade) การค้ารูปแบบนี้เป็นนโยบายของรัฐบาลที่แล้ว เพื่อแก้ไขปัญหาการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านเรียกร้อง เพื่อให้การค้าชายแดนเป็นการค้าที่ถูกต้อง จึงคิดรูปแบบการค้า โดยการเปิดบัญชีขึ้นมาบัญชีหนึ่ง โดยรัฐบาลของแต่ละประเทศ หากผู้ค้าคนใดจะทำการค้าต้องมาลงทะเบียนเป็นผู้ค้า และดำเนินการสั่งของเข้ามาแล้วไปตัดหรือหักบัญชีภายหลัง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว
6. การค้าแบบสากล (Normal Trade) เป็นการค้าแบบมาตรฐานสากล โดยใช้วิธีการเปิด L/C เป็นรูปแบบการค้าที่นิยมใช้แพร่หลาย

ผลกระทบของปัญหา(ขอบเขต,แนวโน้มและความรุนแรง)
ปัญหาและอุปสรรค
การค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านตามแนวชายแดนมีปัญหาอุปสรรค เนื่องจากมีกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ ประเพณี วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน และนโยบายของแต่ละประเทศ


ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
1. รัฐบาลเข้มงวดในการนำเข้าสินค้า เนื่องจากรัฐบาลมีเป้าหมายจะลดปัญหาเงินเฟ้อ
2. ผู้นำเข้า-ส่งออกจะต้องขออนุญาตจากรัฐบาล ผู้ค้ารายย่อยต้องเสียค่าหัวคิวให้กับผู้ได้รับอนุญาต
3. ค่าเงินกีบไม่มั่นคง
4. การขาดแคลนแรงงานเพราะลาวมีประชากรน้อย
5. ตลาดภายในของลาวมีขนาดเล็ก มีอำนาจการซื้อต่ำ
6. นโยบายของรัฐบาลกับเจ้าแขวงไม่เป็นไปทางเดียวกัน
7. ค่าขนส่งและค่าบริการนำเข้าส่งออกค่อนข้างสูง
8. การค้านอกระบบส่งผลกระทบต่อตัวแทนจำหน่ายสินค้าของไทย
9. แต่ละแขวงมีอำนาจในการหารายได้ทำให้สินค้าไม่สามารถแพร่ไปแขวงอื่นต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม



ประเทศมาเลเซีย
1. การกีดกันทางการค้า
2. การขนส่งสินค้า
3. การค้านอกระบบและลักลอบขนสินค้าหนีภาษีตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย
4. การพิพาททางการค้า : การค้าชายแดนบางส่วนดำเนินธุรกิจโดยไม่ผ่านระบบธนาคาร

ประเทศสหภาพเมียนม่าร์
1. ปัญหาการเมือง
2. ระเบียบกฎหมายทั้ง 2 ประเทศไม่เอื้อต่อการค้าชายแดน
3. เส้นทางคมนาคมทางพม่าที่เชื่อมโยงกับชายแดนไทยชำรุดทรุดโทรม
4. ปัญหาเรียกเก็บเงินนอกระบบของข้าราชการบริเวณชายแดนยังมีอีกมาก
5. ประชาชนขาดกำลังซื้อ
6. ปัญหาการสู้รบระหว่างชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลพม่า
7. การขาดการสื่อสาร
8. การขาดการไว้เนื้อเชื่อใจกันของรัฐบาลพม่ากับรัฐบาลไทย
9. การบอยคอตจากสหรัฐอเมริกากับสหภาพยุโรป
10. การทำงานล่าช้าของหน่วยงาน MIC ในกระทรวงคมนาคมของพม่า
11. ไทยจะต้องยกฐานะจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนให้เป็นจุดผ่านแดนถาวรมายิ่งขึ้น
12. ความไม่ใส่ใจภาษาพม่า
13. การเปลี่ยนเจ้าหน้าที่พม่าบ่อย ๆ

ประเทศกัมพูชา
1. ขั้นตอนและระเบียบการส่งออกของไทย มีระเบียบขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนและมีเอกสารประกอบมาก
2. ปัญหาเรื่องค่าเงินเรียลซึ่งเป็นสกุลเงินหลักที่ใช้ในกัมพูชาขาดเสถียรภาพ
3. เส้นทางการขนส่งจากชายแดนไทยไปยังกรุงพนมเปญ มีกลุ่มอิทธิพลต่าง ๆ คุมเส้นทางอยู่
4. สินค้าที่จะนำเข้ากัมพูชาต้องผ่านการตรวจสอบจากบริษัท SGS ที่กระทรวงพาณิชย์กัมพูชาตั้งขึ้นมา

ผู้รับผลกระทบ
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ และวัฒนธรรม สถานการณ์และแนวโน้มด้านสิ่งแวดล้อม ชนชาติส่วนน้อย ความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูง และสถานที่ทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี หากไม่ได้มีการตระเตรียมป้องกันไว้ ผลกระทบนี้ อาจรุนแรงขึ้นถึงขั้น เป็นอุปสรรคต่อการค้า และการลงทุนได้เช่นกัน
นอกจากนั้น สถานที่ทางประวัติศาสตร์ ที่ช่วยให้ท้องถิ่นชุมชน เข้าใจรากของตนได้ดีขึ้น เหล่านี้ อาจจะได้รับผลกระทบทางด้านลบ ดังเช่นที่จังหวัดกวางนาม ในประเทศเวียดนามตอนกลาง ใกล้ดานัง มีเมืองที่ถือว่าเป็นมรดกโลก 2 เมือง ได้แก่ เมืองฮอยอัน (Hoi An) และหมีเซิน (My Son) ซึ่งเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรจามปา ในปัจจุบัน ได้จัดเป็นเมืองท่องเที่ยวแล้ว ปี 2002มีนักท่องเที่ยว ชมกวางนามถึง 2 แสนคน และคาดว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ (กรุงเทพธุรกิจ 170446) เมื่อเส้นทางตะวันตกตะวันออกสำเร็จ ก็คาดว่า จะเพิ่มขึ้นอีกมาก


ข้อเสนอแนะในการลดความรุนแรงของปัญหา

1. ลดขั้นตอนและระเบียบการส่งออกเดิมที่มีการกำหนดไว้ว่า การค้าชายแดนจะต้องมีมูลค่าการส่งออกไม่เกิน 500,000 บาท โดยปรับให้กฎเกณฑ์เหล่านี้สามารถสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน เพื่อเพิ่มความสะดวกและลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการส่งออก
2. ควรปรับปรุงการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีนำเข้าตามมาตรา 19 ทวิ และภาษี มุมน้ำเงินให้เร็วขึ้น เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ผู้ส่งออกของไทย สามารถขยายการส่งออกไปสู่ตลาดการค้าได้มากขึ้น
3. สนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ศึกษาวิจัยข้อมูลทางการตลาดทั้งแนวลึกและแนวกว้าง เช่น ภาวการณ์แข่งขันของสินค้าไทยที่มีศักยภาพ ลู่ทางการค้า ช่องทางการจัดจำหน่าย รวมไปถึงรายชื่อผู้นำเข้ารายใหญ่ เพื่อให้ผู้ส่งออกของไทยได้ใช้เป็นช่องทางในการส่งออก
4. ลดอัตราภาษีนำเข้า วัตถุดิบ เครื่องจักรกล และชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออกให้เป็นไปตามข้อตกลงของอาฟต้า เพื่อให้ราคาสินค้าของไทยสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้
5. ปรับปรุงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานต่างๆ เพื่อให้บริการได้อย่างสม่ำเสมอ และครอบคลุมเขตอุตสาหกรรมต่างๆ และควรมีการลดราคาอัตราค่าบริการด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศลง
6. ควรควบคุมราคาค่าบริการในการขนส่งต่างๆ และให้มีการเปิดเสรีของการให้บริการท่าเรือ เพื่อให้เกิดการแข่งขันด้านราคาและค่าบริการ
7. จัดหาแหล่งเงินทุนระยะยาว และดอกเบี้ยต่ำให้ผู้ส่งออก โดยเฉพาะกับผู้ส่งออกขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีสภาพคล่องต่ำ
8. ควรมีความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลทั้งสองฝ่าย ในด้านการหามาตรการป้องกันการแก้ไขการคดโกงของผู้นำเข้าสินค้าชายแดน

แนวทางการส่งเสริมการค้า
จากปัญหา ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของนายทวีชัย อ้นคูเมือง เจ้าพนักงานการพาณิชย์ชำนาญงาน สำนักงานพาณิชย์จังหวัดตาก ในการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆนั้น สรุปแนวทางในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาและแนวทางในการส่งเสริมการส่งออกสินค้า ดังนี้
1. ควรส่งเสริมให้มีการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคให้มากขึ้น เนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าที่ไทยเป็นผู้นำในตลาดชายแดน นอกจากนี้ยังเป็นสินค้าที่ตลาดชายแดนมีความต้องการอย่างมาก ส่วนสินค้าวัสดุก่อสร้างและสินค้าเครื่องจักรและอุปกรณ์การเกษตร ควรมีการตั้งตัวแทนจำหน่ายในประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากมีความต้องการสินค้ากลุ่มนี้อย่างมาก
2. ควรส่งเสริมให้มีการเข้าไปลงทุนในด้านอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมเสื้อผ้าเพื่อการส่งออก อุตสาหกรรมเหมืองแร่ การบริการและการท่องเที่ยวในประเทศเพื่อนบ้านให้มากขึ้น
3. ควรเพิ่มความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นของไทยและประเทศตามแนว ชายแดนให้มากขึ้น เพื่อป้องกันและปราบปรามการลักลอบการนำเข้าสินค้าและแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ค้าท้องถิ่น
4. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการตลาดและการค้าโดยให้มีการเชิญผู้นำเข้าของประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาเยี่ยมชมกิจการหรือร่วมงานแสดงสินค้าในประเทศไทยเพื่อแลก เปลี่ยนข้อมูลการค้าสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านการค้าของประเทศทั้งสอง
5. ขอความร่วมมือกับสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ช่วยกระตุ้นให้มีการเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหาผลสรุปร่วมกันในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นของผู้ส่งออกไทยและผู้นำเข้าของประเทศที่มีพื้นที่ติดกั นเพิ่มมากขึ้น 6. ส่งเสริมให้มีการรวบรวมจัดเก็บข้อมูลของตลาดชายแดนให้ถูกต้องและมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้มีความทันสมัยและครบถ้วน รวมไปถึงการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ ทันสมัยให้กับผู้ส่งออก
7. รัฐควรหามาตรการควบคุมสินค้าไทยที่ส่งออกไปขายข้ามชายแดน แล้วผู้นำเข้าสินค้าชายแดนส่งกลับเข้ามาขายบริเวณชายแดนไทย ทำให้สินค้าเข้ามาแข่งขันกันเองตามแนวชายแดนไทย โดยรัฐบาลไทยและรัฐบาลในประเทศนั้นควรร่วมมือกันในการหามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา

Reference
1. สำนักงานพาณิชย์จังหวัดตาก http://pcoc.moc.go.th/wappPCOC/views/dstructure.aspx?pv=63
2. บทความเรื่องการค้าชายแดนและการค้าข้ามแดน จากเว็ปไซต์http://www.logisticscorner.com/index.php?option=com_content&view=article&id=94:2009-05-26-13-39-13&catid=39:import-e xport&Itemid=85
3. บทความเรื่อง การค้าชายแดน การเชื่อมสัมพันธ์ตามรอยตะเข็บ โครงการข่าวสารทิศทางประเทศไทย (TTMP) โดยการสนับสนุนของ (สกว) http://www.budutani.com/article/article10.html
4. เอกสารคำบรรยายคุณนิยม ไวยรัชพานิช สภาหอการค้าแห่งประเทศ เมื่อ 21.5.50
5. บทสัมภาษณ์นายทวีชัย อ้นคูเมือง เจ้าพนักงานการพาณิชย์ชำนาญงาน สำนักงานพาณิชย์จังหวัดตาก สัมภาษณ์เมื่อ 12 กรกฏาคม 2553
สมาชิกกลุ่ม AB
   นางสาว พิชญาดา   ยานะ         551805038
   นางสาว  บุษกร       สุนันต๊ะ     551805037
   นางสาว  สุกานดา   ใจดี            551805007
   นางสาว วิไลลักษณ์  ยาเขต       551805008