วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปัญหาด้านการศึกษาของไทย


   ที่มาและจุดเริ่มต้นของปัญหา


  การศึกษาของเด็กไทยที่ผ่านมา มีความพยายามในการยกระดับมาตรฐานทางการศึกษาของเด็กและเยาวชนเพื่อให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เนื่องจากในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กไทยในแต่ละปี ผลที่ออกมามักอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน  ผลสำรวจสุขภาพอนามัยของเด็กโดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2551-2552 โดยสำรวจเด็ก 2 กลุ่ม คือกลุ่มปฐมวัยอายุ 1-5 ปี จำนวน 3,029 คนและกลุ่มเด็กอายุ 6-14 ปี จำนวน 5,999 คน จาก 20 จังหวัดผลการสำรวจด้านเชาว์ปัญญา พบว่า ในช่วง 14 ปีมานี้ ค่าเฉลี่ยระดับเชาว์ปัญญาหรือไอคิวของเด็กไทยไม่ได้เพิ่มขึ้นเหมือนประเทศอื่น โดยเด็กไทยอายุ 6-14 ปี มีระดับเชาว์ปัญญาเท่ากับ 91.4 ซึ่งค่าเฉลี่ยระดับไอคิวปัญญาต่ำลงเมื่อเด็กอายุมากขึ้น มีเด็กถึงร้อยละ 50 ที่มีระดับเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ปกติคือ 80 มีเพียงร้อยละ 11 ที่มีค่าเฉลี่ยระดับเชาว์ปัญญาสูงกว่าปกติแม้ประเทศไทยจะมีการทุ่มงบประมาณเพื่อพัฒนาการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นโครงการเรียนฟรี 15 ปี รวมถึงโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตรครู 5 ปี) การประเมินวิทยฐานะ ซึ่งทำให้ครูที่มีผลงานดีได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น แต่เหตุใดปัญหาการศึกษาของเด็กไทยยังมีการประเมินว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งปัญหาด้านการเรียนของเด็กไทยในปัจจุบันอาจวิเคราะห์ได้ว่ามาจากหลายประการ


สภาพปัญหาในปัจจุบัน
     ปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้เด็กมีผลการเรียนอ่อนลง มาจากความสนใจของตัวเด็กเองที่พบว่าเด็กให้ความสนใจเรื่องของเกม และสื่อเพื่อความบันเทิงมากขึ้น ทำให้ความสนใจในการศึกษาหาความรู้ลดน้อยลง ทั้งนี้ เนื่องมาจากสภาพสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นครอบครัวเดี่ยว พ่อแม่ทุ่มเวลาหาเงิน ทำงาน และใช้เงิน ใช้เทคโนโลยีเลี้ยงดูเด็ก เช่น ซื้อทีวี ซื้อเครื่องเล่นเกมส์ คอมพิวเตอร์ให้ลูกเล่นอยู่บ้าน เพราะคิดว่าดีกว่า ปลอดภัยกว่าที่จะให้ลูกไปเล่นนอกบ้าน ซึ่งจะทำให้เกิดผลเสียต่อพัฒนาการ ปัญหาการสอบแอดมิชชั่น เนื่องจากระบบการสอบแอดมิชชั่น เน้นคะแนนสอบเพียงบางวิชาและไม่เน้นความรู้ในเชิงลึกเหมือนการสอบในสมัยเก่าปัญหาจากครูผู้สอน ทั้งในเรื่องเงินเดือน และการฝึกฝนเรียนรู้ของครูให้เท่าทันศาสตร์ต่างๆ เพื่อจะไปสอนให้ทันกับเทคโนโลยีและความรู้ใหม่ๆ โดยที่ผ่านมาสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) เปิดเผยผลการประเมินคุณภาพภายนอก ทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษา ซึ่งพบว่ามีสถาบันการศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองผลคิดเป็นร้อยละ 19.59 โดยในเบื้องต้นพบว่าสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองมีปัญหาสำคัญมาจากคุณภาพครูเป็นปัจจัยสำคัญ

ผลกระทบของปัญหา(ขอบเขต, แนวโน้มและความรุนแรง)
       ระบบการศึกษาเป็นระบบแรกที่สร้างเทคโนโลยีในด้านคอมพิวเตอร์ขึ้น และเป็นสิ่งชักนำให้ส่งผลกระทบไปในงานด้านอื่นๆ อีกจำนวนมาก ในปัจจุบันการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยได้ใช้คอมพิวเตอร์ประกอบการเรียนการสอนเนื่องจากการศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ จำเป็นต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ในระยะยาว การใช้คอมพิวเตอร์ประกอบการเรียนการสอนมีแนวโน้มที่จะขยายตัวไปถึงระดับมัธยมและประถมด้วย การใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษานี้จะช่วยให้การเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างกว้างขวางรวดเร็ว ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจในเรื่องราวที่ศึกษาได้ดีขึ้น และยังช่วยให้ผู้สอนสามารถใช้เวลาในการวางแผนและพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าในการศึกษาได้มากยิ่งขึ้นนอกจากนี้ ผู้สอนยังอาจใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการสอนที่จะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนให้เหมาะสมกับสภาวะของผู้เรียนได้อีกด้วยนอกจากนี้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะมีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากราคาเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกลง และมีผู้สร้างบทเรียนสำหรับใช้สอนโดยคอมพิวเตอร์มากขึ้น ในระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ ผู้เรียนจะเรียนโดยใช้แป้นตัวอักษรและจอโทรทัศน์ที่เชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ซึ่งได้มีผู้เตรียมบทเรียนต่างๆ ไว้พร้อมแล้ว คอมพิวเตอร์จะแสดงภาพและข้อความบนจอโทรทัศน์ ข้อความนั้นอาจจะเป็นคำแนะนำเพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติ คำอธิบายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจหรือเป็นคำถามเพื่อให้ผู้เรียนตอบ เครื่องคอมพิวเตอร์จะบันทึกผลการเรียนของผู้เรียนว่าได้เข้าใจในเรื่องต่างๆ ดีขึ้นประการใดบ้างผู้สอนสามารถจะติดตามผลการเรียนได้สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้การเรียนการสอนดีขึ้นครูผู้สอนจำเป็นต้องหาทางปรับปรุงบทเรียนที่ใช้สอนของตนอยู่เสมอผู้เรียนจะต้องอ่านบทเรียนจากจอภาพแทนการอ่านจากหน้ากระดาษ นอกจากนี้ ตำราหรือบทเรียนจะเก็บในรูปของจานแม่เหล็กหรือแถบวีดีทัศน์แทนหนังสือ ผู้เรียนสามารถหาอ่านได้ง่าย สมมุติว่าเราต้องการรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น เรื่องต้นไม้ ถ้าเรื่องนี้มีเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์แล้ว คอมพิวเตอร์จะตรวจดูว่ามีเรื่องนี้ ณ ที่ใด และจะแสดงบนจอภาพให้เห็นได้ทันที ผู้เรียนทุ่นเวลาในการไปค้นหาได้มาก ผลกระทบเหล่านี้จะมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป

ผู้รับผลกระทบ(ภาคธุรกิจใด)

   ผลกระทบที่สำคัญทางด้านการศึกษาคือ การกลับมาอบรมและศึกษาใหม่ เนื่องจากผู้ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วและกำลังทำงานอยู่ ต้องปรับปรุงตนให้เข้ากับระบบงานที่กำลังจะเริ่มใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ บุคลากรที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องกลับเข้าอบรมและศึกษาใหม่ ถ้าการสอนเทคโนโลยีลึกซึ้งเกินไป ผู้เข้ารับการอบรมจะท้อแท้และเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน ไม่สามารถรับวิทยาการใหม่ได้ ผลก็คือ ประสิทธิภาพในการทำงานด้อยลง และอาจจะก่อปัญหาถึงระดับสูงได้โดยง่าย สิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบกลับมายังวิธีการศึกษาว่าจะต้องหาทางพัฒนาวิธีการให้เข้าใจง่าย และเป็นที่ยอมรับได้ตั้งแต่แรกส่วนการเรียนการสอนโดยทั่วไป ยังมีลักษณะเหมือนเดิม คือ มีห้องเรียน มีครูสอน มีอุปกรณ์การสอนเช่นเดิม เช่น กระดานดำ เครื่องฉายสไลด์ สิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนคือการวางแผนบริหารระบบงานทางด้านการศึกษา ให้สะดวกต่อการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้


ข้อเสนอแนะในการลดความรุนแรงของปัญหา

1. กำหนด กลยุทธ์/นโยบาย/พรบ.การศึกษา และเป้าหมาย ที่ชัดเจน แต่มีความยืดหยุ่นในตัวเอง
2. จัดตั้งทีมหรือคณะทางาน ที่มาจากทุกภาคส่วน ร่วมในการวิเคราะห์สภาพปัญหา รูปแบบการศึกษาที่ควรจะเป็น กำหนดแนวทางการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน โดยไม่ต้องขึ้นตรงกับส่วนใดๆ
3. ให้การสนับสนุนสถาบันการศึกษาตามความต้องการ ไม่จัดสรรในรูปของงบประมาณ
4. บูรณาการการควบคุมคุณภาพการศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการปฏิบัติงาน (เป็นการทำงานที่ recheck ตัวเอง) ผู้ปฏิบัติจะไม่รู้สึกอึดอัดเหมือนโดนาประเมินตลอดเวลา
5. ยกเลิกการผู้ติดของผลการประเมินกับงบประมาณ (เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง)
6.ปรับเกณฑ์การขอเลื่อนวิทยฐาน โดยพิจารณาผลการดาเนินงานในชั้นเรียนและประสิทธิผลของนักเรียน
7. จัดสรรงบประมาณตามความจาเป็นและความเร่งด่วน
8. เก็บงบประมาณไว้ใช้สาหรับโรงเรียนที่มีความต้องการ    
9.ยกเลิกระเบียบการจัดสรรงบประมาณตามจานวนนักศึกษา โดยพิจารณาจากความจาเป็นและความเหมาะสม (เพราะนอกจากจะทาให้เกิดช่องว่างแล้ว นักเรียนไม่มีความเกรงกลัวว่าตัวเองจะสอบตกเพราะยังไงอาจารย์ก็ให้สอบแก้จนผ่าน ทำให้การใส่ใจในการเรียนมีเปอร์เซนต์น้อยลง)


ที่มา




สมาชิกกลุ่ม AD

นางสาว พิชญาดา ยานะ       551805038

นางสาว บุษกร สุนันต๊ะ        551805037

นางสาว สุกานดา ใจดี          551805007

นางสาว วิไลลักษณ์ ยาเขต   551805008






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น