วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การต่อต้าน การเปลี่ยนแปลง


   ผู้บริโภคเดี๋ยวนี้ไม่เหมือนเดิม


     อดีตเป็นเหมือนกับอีกโลกหนึ่งไปแล้ว   สมัยนั้นอะไรๆ ก็แตกต่างไปจากเดี๋ยวนี้
      การบริโภคของคนทั่วไปในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา มีองค์ประกอบสำคัญๆ 3 ส่วนประกอบกัน คือ
ผู้บริโภค  กลุ่มเป้าหมาย  ประเภทของสินค้า   ถึงวันนี้ประกอบทั้ง   3 ส่วนนี้ไม่ได้มีความหมายอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อ 30 ปีที่แล้ว แต่ถ้าเราลงลึกในรายละเอียดขององค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน
เราจะเห็นว่าทุกอย่างได้เปลี่ยนแปลงไป  จนความรู้สึกนึกคิดแบบเดิมๆ ใช้ไม่ได้อีกแล้ว


  กลุ่มเป้าหมายไม่เหมือนเดิม
คนเราทุกวันนี้มีความเครียดมากมาย   เราพูดกันถึงความเครียดกันจนติดปาก   และก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนเราทุกวันนี้เครียดจริงๆ   เครียดกับเศรษฐกิจที่มีปัญหา  จนส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการจับจ่ายสินค้า  และที่เปลี่ยนแปลงไปชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ 
      เพราะฉะนั้น  เป้าหมายของคนเราในทุกวันนี้จึงไม่ใช้ผู้รับสื่อในแบบเดิมๆ  อีกต่อไปแล้ว  เพราถ้าใช้  เขาก็ต้องตั้งใจเสพโฆษณาของเรามากกว่านี้  แสดงให้เห็นปฏิกิริยาของผู้ชมที่มีต่อช่วงพักโฆษณาระหว่างรายการได้เป็นอย่างดี เราจึงสรุปได้ว่า  กลุ่มเป้าหมายสมัยนี้ไม่เหมือนแต่ก่อนอีกแล้ว  และคนเหล่านี้ก็คงไม่ใช่ผู้ที่รับสื่อตามที่เราคิดไว้


 ผู้บริโภคเปลี่ยนไป ใครต้องทำอะไรบ้าง
   เมื่อพูดถึงผู้บริโภค เราคงต้องตีความว่าคนกลุ่มนี้คือผู้ซื้อ หรือผู้ที่ก่อให้เกิดกิจกรรมในการบริโภค และด้วยความคิดนี้เอง นักการตลาดอย่างพวกเราจะต้องกระตือรือร้นที่จะป้อนข้อมูลให้แก่ผู้บริโภคอย่างเต็มที่ ต้องบรรยายสรรพคุณเกี่ยวกับสินค้า ต้องทำหีบห่อให้สวยเตะตา  ต้องทำรายละเอียด  ต้องทำแผ่นพับ และอะไรต่ออะไรอีกมากมายด้วยความหวังของผู้บริโภคจะได้รับรู้ถึงสรรพคุณของสิ่งที่เราจะขายให้มากที่สุด  ทั้งที่จริงแล้ว  ผู้บริโภคจะสนใจในตัวผลิตภัณฑ์ก็ต่อเมื่อถึงจุดที่กำลังจะตัดสินใจซื้อ  หรือกำลังจะใช้สินค้าตัวนั้น

เหตุผลในการต่อต้านจะมีหลายสาเหตุ ได้แก่
}  สาเหตุส่วนบุคคล เนื่องมาจากความกังวลว่าการเปลี่ยนแปลงจะทำให้เกิดอุปสรรคต่อตนเอง เมื่อเกิดความกลัวต่อการเปลี่ยนแปลงจึงทำให้เกิดการต่อต้านขึ้นมาได้ โดยเฉพาะเมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
}  เกิดจากการขาดความเข้าใจและความมั่นใจ เมื่อเกิดความไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของการเปลี่ยนแปลง หรือไม่แน่ใจในผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง หรือไม่เชื่อมั่นในตัวผู้นำว่าจะสามารถนำพาไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นได้
}  ความไม่ไว้ใจ ถ้าการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดผลในเชิงบวกในอนาคต พนักงานจะเกิดความสงสัยว่าเขาจะเป็นอย่างไรในอนาคต
}  ความไม่แน่นอน เมื่อข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงไม่ชัดเจนจะส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนเนื่องจากจะทำให้เกิดความกลัวในสิ่งที่จะเกิดขึ้น หรือวิตกกังวลต่อรูปแบบใหม่ ๆ ที่องค์การจะนำมาใช้
}  การรับรู้ของแต่ละบุคคลจะมีความแตกต่างกัน เมื่อได้รับผลกระทบจะทำให้เกิดการต่อต้านขึ้น ซึ่งก็จะมีความรุนแรงและความแตกต่างกันไป ดังนั้นจึงต้องมีการจัดเตรียมขั้นตอนต่าง ๆ ให้กับสมาชิกในองค์การ
}  ความเฉื่อยชา พนักงานในองค์การจะรู้สึกสบายเมื่อทำงานในวิธีการเดิมที่ทำอยู่มากว่าเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิธีการทำงานใหม่เพราะว่าไม่มีความเสี่ยงเกิดขึ้น
}  มองเห็นจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องของแผนการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากความใกล้ชิดกับงานจะทำให้ทราบถึงข้อจำกัดของกลยุทธ์ที่จะนำมาใช้ว่ามีความเหมาะสมกับการดำเนินงานแบบเดิมหรือไม่ ซึ่งหากนักบริหารยอมรับและเข้าใจจะเป็นประโยชน์ในการนำไปปรับปรุงกลยุทธ์เพื่อจัดการความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
}  ความไม่ไว้ใจ ถ้าการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดผลในเชิงบวกในอนาคต พนักงานจะเกิดความสงสัยว่าเขาจะเป็นอย่างไรในอนาคต
}  การขาดแคลนข้อมูล เกี่ยวกับความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง
}  การต่อต้านผลที่เกิดขึ้น การประเมินถึงผลกระทบในทางบวกและทางลบที่จะเกิดขึ้น พนักงานจะพยายามป้องผลประโยชน์ของตนเอง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอาจทำให้พนักงานสูญเสียผลประโยชน์

รายชื่อสมาชิก  AD  โปรแกรมวิชาการจัดการทั่วไป
นางสาว  พิชญาดา         ยานะ       551805038
นางสาว  บุษกร             สุนันต๊ะ   551805037
นางสาว  สุกานดา        ใจดี          551805007
นางสาว  วิไลลักษณ์     ยาเขต      551805008