วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Benchmarking


เกษตรกรรม  

 การแปรรูปชาเชียว

ชา (Camellia sinensis) เป็นพืชที่ใช้เป็นเครื่องดื่มที่มีคนนิยมดื่มกันมานากว่า 2,000 ปี โดยเฉพาะคนในประเทศจีนและอินเดียนิยมดื่มชากันมาก และนั่นก็หมายความว่าพลโลกร่วม 2,000 ล้านคน บริโภคชาเป็นประจำ ชามีต้นกำเนิดในจีนตอนใต้ และอินเดียตอนเหนือ ทุกวันนี้แหล่ชาที่สำคัญได้แก่ บริเวณไหล่เขาของประเทศศรีลังกา จีน อินเดีย ไต้หวัน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย เป็นต้น
ชาเป็นพืชยืนต้นที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีความสูงถึง 6 เมตร ชาบางชนิดสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 100 ปี ตามปกติชาวไร่จะนิยมปลูกชาตามบริเวณไหล่เขา ทั้งนี้ก็เพื่อให้รากชาช่วยยึดดิน และเพราะเหตุว่าคุณภาพของชาขึ้นกับสภาพดินฟ้าอากาศ ดังนั้นชาที่ปลูกในแต่ละพื้นที่ ในแต่ละฤดู จะให้ชาที่มีรสไม่เหมือนกัน และโดยทั่วไปแล้วชาที่ปลูกในที่สูงจะมีกลิ่นและรสชาติที่ละมุนละไมกว่าชาที่ปลูกในพื้นที่ที่ต่ำกว่ามาก
     

การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
   การนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปจะช่วยป้องกันการล้นตลาดของผลิตผลสด ซึ่งช่วยยกระดับราคาผลิตผล ไม่ให้ตกต่ำ การเพิ่มมูลค่าของผลิตผลทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นอาหารระดับอุตสาหกรรม ที่สามารถรับวัตถุ ดิบเพื่อผลิตเป็นอาหารจำนวนมากได้ การผลิตอาหารให้ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค การส่งเสริม ให้ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารให้เป็นที่ยอมรับ และสามารถขยายตลาดการค้าออกไปสู่ต่างประเทศ จะช่วยเพิ่มพูน รายได้ให้แก่ประเทศได้เป็นอย่างดี







    ในปัจจุบันการแปรรูปผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตรมีการพัฒนาขึ้นเรื่อย  เนื่องจากเทคโนโลยีมีมากขึ้น  ด้วยการนำวิธีการต่าง  มาผสมผสานกัน   เพื่อให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายชนิด  การแปรรูปวัตถุดิบการเกษตร  มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเสื่อมเสียและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้คงรักษาคุณภาพของวัตถุดิบให้เป็นไปตามความต้องการของการผลิตผลิตภัณฑ์  โดยให้มีการสูญเสียน้อยที่สุด  สามารถใช้ประโยชน์ได้นานที่สุด  วัตถุประสงค์ของการแปรรูป  จำแนกได้ 5 ประการ  คือ
         1.1  ป้องกันการเสื่อมเสียของวัตถุดิบ
                        วัตถุดิบหลักของการแปรรูปผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร  เสื่อมเสียได้เร็วตามชนิดของวัตถุดิบ  จึงจำเป็นต้องป้องกันการเสื่อมเสียของวัตถุดิบไว้ให้ได้  ทั้งภายในและภายนอก
          1.2  ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของวัตถุดิบ
                   ปรับปรุงคุณลักษณะของวัตถุดิบให้ตรงกับความประสงค์  และมีความปลอดภัยในการนำไปใช้ประโยชน์  ซึ่งมีความแตกต่างกัน  แม้ว่าจะใช้วัตถุดิบชนิดเดียวกัน  เช่น  ดอกทานตะวัน  สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้ถึง 5 ชนิด  เช่น  น้ำมันเงา  สี  สกัดเป็นน้ำมัน  ใช้เป็นส่วนผสมในการทำสบู่  ผสมในอาหารสัตว์  และกะเทาะอบบรรจุซอง  เป็นอาหารคบเคี้ยว  เป็นต้น
          1.3  คงรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้เอาไว้ให้มากที่สุด
                   และตรงกับความประสงค์ในการใช้ประโยชน์  ทั้งนี้เนื่องจาก  คุณภาพของวัตถุดิบจะเป็นปฏิภาคโดยตรงกับคุณภาผลิตผลิตภัณฑ์  หากใช้วิธีการแปรรูปไม่เหมาะสม  หรือไม่ถูกต้อง  แม้ว่าจะได้ผลิตภัณฑ์ตามต้องการ  แต่คุณภาพของผลิตภัณฑ์อาจเสื่อมไป  เช่น  คุณภาพสี  กลิ่น  รส  และวิตามิน  หากใช้ความร้อนสูงเป็นเวลานาน
          1.4  สามารถใช้ประโยชน์ได้นานที่สุด
                   ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปอาจเกิดการเสื่อมเสียได้จากปัจจัยและสภาวะแวดล้อมภายนอก  เช่น  การเลือกใช้ภาชนะบรรจุ  หรือการเคลือบทาด้วยสารเคมีป้องการเสื่อมเสีย  เพื่อใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ได้นานที่สุดให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด




ความสำเร็จของผลิตภัณฑ์  ชาเขียว
  ในอนาคตตลาดชาสมุนไพรทั้งในประเทศและตลาดต่างประเทศมีอนาคตสดใสอย่าง มาก โดยผู้ผลิตต้องพยายามหาสมุนไพรชนิดอื่นๆทางผู้ผลิตจึงเกิดแนวคิดที่จะทำผลิตภัณฑ์ ชาสมุนไพร ที่มีประโยชน์เพื่อนำมาแปรรูปเป็น เครื่องดื่มสำเร็จรูป  ชาชง  หรือชาประคบ แม้กระทั้ง ของที่ระลึกที่ทำมาจากชา แต่ต้องให้คงเอกลักษณ์ความเป็นสมุนไพรไทย ผลพลอยได้ในการขยายตลาดชาสมุนไพรถ้ายิ่งผลิตสินค้าออกมาขายได้มากเท่าไหร่ เกษตรกรที่ปลูกสมุนไพรขายก็จะมีรายได้มากขึ้นด้วย นับว่าเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย นอกจากนี้หากมีการพัฒนาไปจนถึงขั้นการส่งออกได้อย่างจริงจังแล้วก็จะสามารถ สร้างรายได้ในรูปเงินตราต่างประเทศที่อาศัยวัตถุดิบและแรงงาน รวมทั้งภูมิปัญญาชาวบ้านในท้องถิ่น เพียงแต่ในการขยายตลาดส่งออกต้องอาศัยเทคโนโลยีในระดับที่สูงขึ้นเพื่อปรับ ปรุงทั้งการผลิตและการบรรจุหีบห่อ รวมทั้งรูปแบบของผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากที่สุดการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากชาเขียวจึงเป็นวิธีที่เยี่ยมเลยทีเดียวที่จะ พัฒนาสินค้าไปสู่ท้องตลาดได้อย่างสมบูรณ์

สมาชิกกลุ่ม AD

นางสาว พิชญาดา ยานะ 551805038

นางสาว บุษกร สุนันต๊ะ 551805037

นางสาว สุกานดา ใจดี 551805007

นางสาว วิไลลักษณ์ ยาเขต 551805008