วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Benchmarking


เกษตรกรรม  

 การแปรรูปชาเชียว

ชา (Camellia sinensis) เป็นพืชที่ใช้เป็นเครื่องดื่มที่มีคนนิยมดื่มกันมานากว่า 2,000 ปี โดยเฉพาะคนในประเทศจีนและอินเดียนิยมดื่มชากันมาก และนั่นก็หมายความว่าพลโลกร่วม 2,000 ล้านคน บริโภคชาเป็นประจำ ชามีต้นกำเนิดในจีนตอนใต้ และอินเดียตอนเหนือ ทุกวันนี้แหล่ชาที่สำคัญได้แก่ บริเวณไหล่เขาของประเทศศรีลังกา จีน อินเดีย ไต้หวัน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย เป็นต้น
ชาเป็นพืชยืนต้นที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีความสูงถึง 6 เมตร ชาบางชนิดสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 100 ปี ตามปกติชาวไร่จะนิยมปลูกชาตามบริเวณไหล่เขา ทั้งนี้ก็เพื่อให้รากชาช่วยยึดดิน และเพราะเหตุว่าคุณภาพของชาขึ้นกับสภาพดินฟ้าอากาศ ดังนั้นชาที่ปลูกในแต่ละพื้นที่ ในแต่ละฤดู จะให้ชาที่มีรสไม่เหมือนกัน และโดยทั่วไปแล้วชาที่ปลูกในที่สูงจะมีกลิ่นและรสชาติที่ละมุนละไมกว่าชาที่ปลูกในพื้นที่ที่ต่ำกว่ามาก
     

การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
   การนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปจะช่วยป้องกันการล้นตลาดของผลิตผลสด ซึ่งช่วยยกระดับราคาผลิตผล ไม่ให้ตกต่ำ การเพิ่มมูลค่าของผลิตผลทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นอาหารระดับอุตสาหกรรม ที่สามารถรับวัตถุ ดิบเพื่อผลิตเป็นอาหารจำนวนมากได้ การผลิตอาหารให้ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค การส่งเสริม ให้ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารให้เป็นที่ยอมรับ และสามารถขยายตลาดการค้าออกไปสู่ต่างประเทศ จะช่วยเพิ่มพูน รายได้ให้แก่ประเทศได้เป็นอย่างดี







    ในปัจจุบันการแปรรูปผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตรมีการพัฒนาขึ้นเรื่อย  เนื่องจากเทคโนโลยีมีมากขึ้น  ด้วยการนำวิธีการต่าง  มาผสมผสานกัน   เพื่อให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายชนิด  การแปรรูปวัตถุดิบการเกษตร  มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเสื่อมเสียและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้คงรักษาคุณภาพของวัตถุดิบให้เป็นไปตามความต้องการของการผลิตผลิตภัณฑ์  โดยให้มีการสูญเสียน้อยที่สุด  สามารถใช้ประโยชน์ได้นานที่สุด  วัตถุประสงค์ของการแปรรูป  จำแนกได้ 5 ประการ  คือ
         1.1  ป้องกันการเสื่อมเสียของวัตถุดิบ
                        วัตถุดิบหลักของการแปรรูปผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร  เสื่อมเสียได้เร็วตามชนิดของวัตถุดิบ  จึงจำเป็นต้องป้องกันการเสื่อมเสียของวัตถุดิบไว้ให้ได้  ทั้งภายในและภายนอก
          1.2  ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของวัตถุดิบ
                   ปรับปรุงคุณลักษณะของวัตถุดิบให้ตรงกับความประสงค์  และมีความปลอดภัยในการนำไปใช้ประโยชน์  ซึ่งมีความแตกต่างกัน  แม้ว่าจะใช้วัตถุดิบชนิดเดียวกัน  เช่น  ดอกทานตะวัน  สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้ถึง 5 ชนิด  เช่น  น้ำมันเงา  สี  สกัดเป็นน้ำมัน  ใช้เป็นส่วนผสมในการทำสบู่  ผสมในอาหารสัตว์  และกะเทาะอบบรรจุซอง  เป็นอาหารคบเคี้ยว  เป็นต้น
          1.3  คงรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้เอาไว้ให้มากที่สุด
                   และตรงกับความประสงค์ในการใช้ประโยชน์  ทั้งนี้เนื่องจาก  คุณภาพของวัตถุดิบจะเป็นปฏิภาคโดยตรงกับคุณภาผลิตผลิตภัณฑ์  หากใช้วิธีการแปรรูปไม่เหมาะสม  หรือไม่ถูกต้อง  แม้ว่าจะได้ผลิตภัณฑ์ตามต้องการ  แต่คุณภาพของผลิตภัณฑ์อาจเสื่อมไป  เช่น  คุณภาพสี  กลิ่น  รส  และวิตามิน  หากใช้ความร้อนสูงเป็นเวลานาน
          1.4  สามารถใช้ประโยชน์ได้นานที่สุด
                   ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปอาจเกิดการเสื่อมเสียได้จากปัจจัยและสภาวะแวดล้อมภายนอก  เช่น  การเลือกใช้ภาชนะบรรจุ  หรือการเคลือบทาด้วยสารเคมีป้องการเสื่อมเสีย  เพื่อใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ได้นานที่สุดให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด




ความสำเร็จของผลิตภัณฑ์  ชาเขียว
  ในอนาคตตลาดชาสมุนไพรทั้งในประเทศและตลาดต่างประเทศมีอนาคตสดใสอย่าง มาก โดยผู้ผลิตต้องพยายามหาสมุนไพรชนิดอื่นๆทางผู้ผลิตจึงเกิดแนวคิดที่จะทำผลิตภัณฑ์ ชาสมุนไพร ที่มีประโยชน์เพื่อนำมาแปรรูปเป็น เครื่องดื่มสำเร็จรูป  ชาชง  หรือชาประคบ แม้กระทั้ง ของที่ระลึกที่ทำมาจากชา แต่ต้องให้คงเอกลักษณ์ความเป็นสมุนไพรไทย ผลพลอยได้ในการขยายตลาดชาสมุนไพรถ้ายิ่งผลิตสินค้าออกมาขายได้มากเท่าไหร่ เกษตรกรที่ปลูกสมุนไพรขายก็จะมีรายได้มากขึ้นด้วย นับว่าเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย นอกจากนี้หากมีการพัฒนาไปจนถึงขั้นการส่งออกได้อย่างจริงจังแล้วก็จะสามารถ สร้างรายได้ในรูปเงินตราต่างประเทศที่อาศัยวัตถุดิบและแรงงาน รวมทั้งภูมิปัญญาชาวบ้านในท้องถิ่น เพียงแต่ในการขยายตลาดส่งออกต้องอาศัยเทคโนโลยีในระดับที่สูงขึ้นเพื่อปรับ ปรุงทั้งการผลิตและการบรรจุหีบห่อ รวมทั้งรูปแบบของผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากที่สุดการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากชาเขียวจึงเป็นวิธีที่เยี่ยมเลยทีเดียวที่จะ พัฒนาสินค้าไปสู่ท้องตลาดได้อย่างสมบูรณ์

สมาชิกกลุ่ม AD

นางสาว พิชญาดา ยานะ 551805038

นางสาว บุษกร สุนันต๊ะ 551805037

นางสาว สุกานดา ใจดี 551805007

นางสาว วิไลลักษณ์ ยาเขต 551805008


วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การต่อต้าน การเปลี่ยนแปลง


   ผู้บริโภคเดี๋ยวนี้ไม่เหมือนเดิม


     อดีตเป็นเหมือนกับอีกโลกหนึ่งไปแล้ว   สมัยนั้นอะไรๆ ก็แตกต่างไปจากเดี๋ยวนี้
      การบริโภคของคนทั่วไปในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา มีองค์ประกอบสำคัญๆ 3 ส่วนประกอบกัน คือ
ผู้บริโภค  กลุ่มเป้าหมาย  ประเภทของสินค้า   ถึงวันนี้ประกอบทั้ง   3 ส่วนนี้ไม่ได้มีความหมายอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อ 30 ปีที่แล้ว แต่ถ้าเราลงลึกในรายละเอียดขององค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน
เราจะเห็นว่าทุกอย่างได้เปลี่ยนแปลงไป  จนความรู้สึกนึกคิดแบบเดิมๆ ใช้ไม่ได้อีกแล้ว


  กลุ่มเป้าหมายไม่เหมือนเดิม
คนเราทุกวันนี้มีความเครียดมากมาย   เราพูดกันถึงความเครียดกันจนติดปาก   และก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนเราทุกวันนี้เครียดจริงๆ   เครียดกับเศรษฐกิจที่มีปัญหา  จนส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการจับจ่ายสินค้า  และที่เปลี่ยนแปลงไปชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ 
      เพราะฉะนั้น  เป้าหมายของคนเราในทุกวันนี้จึงไม่ใช้ผู้รับสื่อในแบบเดิมๆ  อีกต่อไปแล้ว  เพราถ้าใช้  เขาก็ต้องตั้งใจเสพโฆษณาของเรามากกว่านี้  แสดงให้เห็นปฏิกิริยาของผู้ชมที่มีต่อช่วงพักโฆษณาระหว่างรายการได้เป็นอย่างดี เราจึงสรุปได้ว่า  กลุ่มเป้าหมายสมัยนี้ไม่เหมือนแต่ก่อนอีกแล้ว  และคนเหล่านี้ก็คงไม่ใช่ผู้ที่รับสื่อตามที่เราคิดไว้


 ผู้บริโภคเปลี่ยนไป ใครต้องทำอะไรบ้าง
   เมื่อพูดถึงผู้บริโภค เราคงต้องตีความว่าคนกลุ่มนี้คือผู้ซื้อ หรือผู้ที่ก่อให้เกิดกิจกรรมในการบริโภค และด้วยความคิดนี้เอง นักการตลาดอย่างพวกเราจะต้องกระตือรือร้นที่จะป้อนข้อมูลให้แก่ผู้บริโภคอย่างเต็มที่ ต้องบรรยายสรรพคุณเกี่ยวกับสินค้า ต้องทำหีบห่อให้สวยเตะตา  ต้องทำรายละเอียด  ต้องทำแผ่นพับ และอะไรต่ออะไรอีกมากมายด้วยความหวังของผู้บริโภคจะได้รับรู้ถึงสรรพคุณของสิ่งที่เราจะขายให้มากที่สุด  ทั้งที่จริงแล้ว  ผู้บริโภคจะสนใจในตัวผลิตภัณฑ์ก็ต่อเมื่อถึงจุดที่กำลังจะตัดสินใจซื้อ  หรือกำลังจะใช้สินค้าตัวนั้น

เหตุผลในการต่อต้านจะมีหลายสาเหตุ ได้แก่
}  สาเหตุส่วนบุคคล เนื่องมาจากความกังวลว่าการเปลี่ยนแปลงจะทำให้เกิดอุปสรรคต่อตนเอง เมื่อเกิดความกลัวต่อการเปลี่ยนแปลงจึงทำให้เกิดการต่อต้านขึ้นมาได้ โดยเฉพาะเมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
}  เกิดจากการขาดความเข้าใจและความมั่นใจ เมื่อเกิดความไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของการเปลี่ยนแปลง หรือไม่แน่ใจในผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง หรือไม่เชื่อมั่นในตัวผู้นำว่าจะสามารถนำพาไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นได้
}  ความไม่ไว้ใจ ถ้าการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดผลในเชิงบวกในอนาคต พนักงานจะเกิดความสงสัยว่าเขาจะเป็นอย่างไรในอนาคต
}  ความไม่แน่นอน เมื่อข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงไม่ชัดเจนจะส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนเนื่องจากจะทำให้เกิดความกลัวในสิ่งที่จะเกิดขึ้น หรือวิตกกังวลต่อรูปแบบใหม่ ๆ ที่องค์การจะนำมาใช้
}  การรับรู้ของแต่ละบุคคลจะมีความแตกต่างกัน เมื่อได้รับผลกระทบจะทำให้เกิดการต่อต้านขึ้น ซึ่งก็จะมีความรุนแรงและความแตกต่างกันไป ดังนั้นจึงต้องมีการจัดเตรียมขั้นตอนต่าง ๆ ให้กับสมาชิกในองค์การ
}  ความเฉื่อยชา พนักงานในองค์การจะรู้สึกสบายเมื่อทำงานในวิธีการเดิมที่ทำอยู่มากว่าเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิธีการทำงานใหม่เพราะว่าไม่มีความเสี่ยงเกิดขึ้น
}  มองเห็นจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องของแผนการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากความใกล้ชิดกับงานจะทำให้ทราบถึงข้อจำกัดของกลยุทธ์ที่จะนำมาใช้ว่ามีความเหมาะสมกับการดำเนินงานแบบเดิมหรือไม่ ซึ่งหากนักบริหารยอมรับและเข้าใจจะเป็นประโยชน์ในการนำไปปรับปรุงกลยุทธ์เพื่อจัดการความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
}  ความไม่ไว้ใจ ถ้าการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดผลในเชิงบวกในอนาคต พนักงานจะเกิดความสงสัยว่าเขาจะเป็นอย่างไรในอนาคต
}  การขาดแคลนข้อมูล เกี่ยวกับความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง
}  การต่อต้านผลที่เกิดขึ้น การประเมินถึงผลกระทบในทางบวกและทางลบที่จะเกิดขึ้น พนักงานจะพยายามป้องผลประโยชน์ของตนเอง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอาจทำให้พนักงานสูญเสียผลประโยชน์

รายชื่อสมาชิก  AD  โปรแกรมวิชาการจัดการทั่วไป
นางสาว  พิชญาดา         ยานะ       551805038
นางสาว  บุษกร             สุนันต๊ะ   551805037
นางสาว  สุกานดา        ใจดี          551805007
นางสาว  วิไลลักษณ์     ยาเขต      551805008








วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปัญหาด้านการศึกษาของไทย


   ที่มาและจุดเริ่มต้นของปัญหา


  การศึกษาของเด็กไทยที่ผ่านมา มีความพยายามในการยกระดับมาตรฐานทางการศึกษาของเด็กและเยาวชนเพื่อให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เนื่องจากในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กไทยในแต่ละปี ผลที่ออกมามักอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน  ผลสำรวจสุขภาพอนามัยของเด็กโดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2551-2552 โดยสำรวจเด็ก 2 กลุ่ม คือกลุ่มปฐมวัยอายุ 1-5 ปี จำนวน 3,029 คนและกลุ่มเด็กอายุ 6-14 ปี จำนวน 5,999 คน จาก 20 จังหวัดผลการสำรวจด้านเชาว์ปัญญา พบว่า ในช่วง 14 ปีมานี้ ค่าเฉลี่ยระดับเชาว์ปัญญาหรือไอคิวของเด็กไทยไม่ได้เพิ่มขึ้นเหมือนประเทศอื่น โดยเด็กไทยอายุ 6-14 ปี มีระดับเชาว์ปัญญาเท่ากับ 91.4 ซึ่งค่าเฉลี่ยระดับไอคิวปัญญาต่ำลงเมื่อเด็กอายุมากขึ้น มีเด็กถึงร้อยละ 50 ที่มีระดับเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ปกติคือ 80 มีเพียงร้อยละ 11 ที่มีค่าเฉลี่ยระดับเชาว์ปัญญาสูงกว่าปกติแม้ประเทศไทยจะมีการทุ่มงบประมาณเพื่อพัฒนาการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นโครงการเรียนฟรี 15 ปี รวมถึงโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตรครู 5 ปี) การประเมินวิทยฐานะ ซึ่งทำให้ครูที่มีผลงานดีได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น แต่เหตุใดปัญหาการศึกษาของเด็กไทยยังมีการประเมินว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งปัญหาด้านการเรียนของเด็กไทยในปัจจุบันอาจวิเคราะห์ได้ว่ามาจากหลายประการ


สภาพปัญหาในปัจจุบัน
     ปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้เด็กมีผลการเรียนอ่อนลง มาจากความสนใจของตัวเด็กเองที่พบว่าเด็กให้ความสนใจเรื่องของเกม และสื่อเพื่อความบันเทิงมากขึ้น ทำให้ความสนใจในการศึกษาหาความรู้ลดน้อยลง ทั้งนี้ เนื่องมาจากสภาพสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นครอบครัวเดี่ยว พ่อแม่ทุ่มเวลาหาเงิน ทำงาน และใช้เงิน ใช้เทคโนโลยีเลี้ยงดูเด็ก เช่น ซื้อทีวี ซื้อเครื่องเล่นเกมส์ คอมพิวเตอร์ให้ลูกเล่นอยู่บ้าน เพราะคิดว่าดีกว่า ปลอดภัยกว่าที่จะให้ลูกไปเล่นนอกบ้าน ซึ่งจะทำให้เกิดผลเสียต่อพัฒนาการ ปัญหาการสอบแอดมิชชั่น เนื่องจากระบบการสอบแอดมิชชั่น เน้นคะแนนสอบเพียงบางวิชาและไม่เน้นความรู้ในเชิงลึกเหมือนการสอบในสมัยเก่าปัญหาจากครูผู้สอน ทั้งในเรื่องเงินเดือน และการฝึกฝนเรียนรู้ของครูให้เท่าทันศาสตร์ต่างๆ เพื่อจะไปสอนให้ทันกับเทคโนโลยีและความรู้ใหม่ๆ โดยที่ผ่านมาสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) เปิดเผยผลการประเมินคุณภาพภายนอก ทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษา ซึ่งพบว่ามีสถาบันการศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองผลคิดเป็นร้อยละ 19.59 โดยในเบื้องต้นพบว่าสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองมีปัญหาสำคัญมาจากคุณภาพครูเป็นปัจจัยสำคัญ

ผลกระทบของปัญหา(ขอบเขต, แนวโน้มและความรุนแรง)
       ระบบการศึกษาเป็นระบบแรกที่สร้างเทคโนโลยีในด้านคอมพิวเตอร์ขึ้น และเป็นสิ่งชักนำให้ส่งผลกระทบไปในงานด้านอื่นๆ อีกจำนวนมาก ในปัจจุบันการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยได้ใช้คอมพิวเตอร์ประกอบการเรียนการสอนเนื่องจากการศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ จำเป็นต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ในระยะยาว การใช้คอมพิวเตอร์ประกอบการเรียนการสอนมีแนวโน้มที่จะขยายตัวไปถึงระดับมัธยมและประถมด้วย การใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษานี้จะช่วยให้การเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างกว้างขวางรวดเร็ว ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจในเรื่องราวที่ศึกษาได้ดีขึ้น และยังช่วยให้ผู้สอนสามารถใช้เวลาในการวางแผนและพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าในการศึกษาได้มากยิ่งขึ้นนอกจากนี้ ผู้สอนยังอาจใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการสอนที่จะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนให้เหมาะสมกับสภาวะของผู้เรียนได้อีกด้วยนอกจากนี้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะมีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากราคาเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกลง และมีผู้สร้างบทเรียนสำหรับใช้สอนโดยคอมพิวเตอร์มากขึ้น ในระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ ผู้เรียนจะเรียนโดยใช้แป้นตัวอักษรและจอโทรทัศน์ที่เชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ซึ่งได้มีผู้เตรียมบทเรียนต่างๆ ไว้พร้อมแล้ว คอมพิวเตอร์จะแสดงภาพและข้อความบนจอโทรทัศน์ ข้อความนั้นอาจจะเป็นคำแนะนำเพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติ คำอธิบายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจหรือเป็นคำถามเพื่อให้ผู้เรียนตอบ เครื่องคอมพิวเตอร์จะบันทึกผลการเรียนของผู้เรียนว่าได้เข้าใจในเรื่องต่างๆ ดีขึ้นประการใดบ้างผู้สอนสามารถจะติดตามผลการเรียนได้สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้การเรียนการสอนดีขึ้นครูผู้สอนจำเป็นต้องหาทางปรับปรุงบทเรียนที่ใช้สอนของตนอยู่เสมอผู้เรียนจะต้องอ่านบทเรียนจากจอภาพแทนการอ่านจากหน้ากระดาษ นอกจากนี้ ตำราหรือบทเรียนจะเก็บในรูปของจานแม่เหล็กหรือแถบวีดีทัศน์แทนหนังสือ ผู้เรียนสามารถหาอ่านได้ง่าย สมมุติว่าเราต้องการรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น เรื่องต้นไม้ ถ้าเรื่องนี้มีเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์แล้ว คอมพิวเตอร์จะตรวจดูว่ามีเรื่องนี้ ณ ที่ใด และจะแสดงบนจอภาพให้เห็นได้ทันที ผู้เรียนทุ่นเวลาในการไปค้นหาได้มาก ผลกระทบเหล่านี้จะมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป

ผู้รับผลกระทบ(ภาคธุรกิจใด)

   ผลกระทบที่สำคัญทางด้านการศึกษาคือ การกลับมาอบรมและศึกษาใหม่ เนื่องจากผู้ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วและกำลังทำงานอยู่ ต้องปรับปรุงตนให้เข้ากับระบบงานที่กำลังจะเริ่มใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ บุคลากรที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องกลับเข้าอบรมและศึกษาใหม่ ถ้าการสอนเทคโนโลยีลึกซึ้งเกินไป ผู้เข้ารับการอบรมจะท้อแท้และเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน ไม่สามารถรับวิทยาการใหม่ได้ ผลก็คือ ประสิทธิภาพในการทำงานด้อยลง และอาจจะก่อปัญหาถึงระดับสูงได้โดยง่าย สิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบกลับมายังวิธีการศึกษาว่าจะต้องหาทางพัฒนาวิธีการให้เข้าใจง่าย และเป็นที่ยอมรับได้ตั้งแต่แรกส่วนการเรียนการสอนโดยทั่วไป ยังมีลักษณะเหมือนเดิม คือ มีห้องเรียน มีครูสอน มีอุปกรณ์การสอนเช่นเดิม เช่น กระดานดำ เครื่องฉายสไลด์ สิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนคือการวางแผนบริหารระบบงานทางด้านการศึกษา ให้สะดวกต่อการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้


ข้อเสนอแนะในการลดความรุนแรงของปัญหา

1. กำหนด กลยุทธ์/นโยบาย/พรบ.การศึกษา และเป้าหมาย ที่ชัดเจน แต่มีความยืดหยุ่นในตัวเอง
2. จัดตั้งทีมหรือคณะทางาน ที่มาจากทุกภาคส่วน ร่วมในการวิเคราะห์สภาพปัญหา รูปแบบการศึกษาที่ควรจะเป็น กำหนดแนวทางการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน โดยไม่ต้องขึ้นตรงกับส่วนใดๆ
3. ให้การสนับสนุนสถาบันการศึกษาตามความต้องการ ไม่จัดสรรในรูปของงบประมาณ
4. บูรณาการการควบคุมคุณภาพการศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการปฏิบัติงาน (เป็นการทำงานที่ recheck ตัวเอง) ผู้ปฏิบัติจะไม่รู้สึกอึดอัดเหมือนโดนาประเมินตลอดเวลา
5. ยกเลิกการผู้ติดของผลการประเมินกับงบประมาณ (เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง)
6.ปรับเกณฑ์การขอเลื่อนวิทยฐาน โดยพิจารณาผลการดาเนินงานในชั้นเรียนและประสิทธิผลของนักเรียน
7. จัดสรรงบประมาณตามความจาเป็นและความเร่งด่วน
8. เก็บงบประมาณไว้ใช้สาหรับโรงเรียนที่มีความต้องการ    
9.ยกเลิกระเบียบการจัดสรรงบประมาณตามจานวนนักศึกษา โดยพิจารณาจากความจาเป็นและความเหมาะสม (เพราะนอกจากจะทาให้เกิดช่องว่างแล้ว นักเรียนไม่มีความเกรงกลัวว่าตัวเองจะสอบตกเพราะยังไงอาจารย์ก็ให้สอบแก้จนผ่าน ทำให้การใส่ใจในการเรียนมีเปอร์เซนต์น้อยลง)


ที่มา




สมาชิกกลุ่ม AD

นางสาว พิชญาดา ยานะ       551805038

นางสาว บุษกร สุนันต๊ะ        551805037

นางสาว สุกานดา ใจดี          551805007

นางสาว วิไลลักษณ์ ยาเขต   551805008